เมนู

ทำการนับนั้น. บทว่า อภิกฺกนฺตตโร แปลว่า ดีกว่า. บทว่า ปณีตตโร
แปลว่า สูงสุดกว่า.
บทว่า ธมฺมโสโต นิพฺพหติ ความว่า วิปัสสนาญาณที่ดำเนินไป
กล้าแข็ง ย่อมชักพา คือให้บรรลุอริยภูมิ. บทว่า ตทนนฺตรํ โก ชาเนยฺย
ความว่า ใครจะพึงรู้เหตุนั้น ๆ. บทว่า สีลวา โหติ ได้แก่ ย่อมมีศีล
ด้วยโลกิยศีล. บทว่า ยตฺถสฺส ตํ สีลํ ความว่า ถึงวิมุตติในพระอรหัต
แล้ว ศีลก็ชื่อว่าดับไม่เหลือเลย. ข้อยุติในศีลนั้น ก็กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
ในองค์ทั้งสองนอกจากนี้ อนาคามิผล ชื่อว่าวิมุตติ.
ในสูตรที่ 5 ก็ตรัสพระอรหัตอย่างเดียว. คำที่เหลือในสูตรที่ 5
นั้น ก็พึงทราบตามแนวแห่งนัยที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถามิคสาลาสูตรที่ 5

6. อภัพพสูตร


ว่าด้วยธรรม 3 ประการมีอยู่ในโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงบังเกิดในโลก


[76] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ไม่พึงมีในโลก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระ-
ตถาคตทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรื่องในโลก 3 ประการเป็นไฉน
คือ ชาติ 1 ชรา 1 มรณะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการ
นี้แล ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิด
ในโลก ธรรมวินัยอันพระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วไม่พึงรุ่งเรืองในโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรม 3 ประการนี้มีอยู่ในโลก ฉะนั้น พระ-

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม
3 ประการแล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ 3 ประการเป็นไฉน
คือ ราคะ 1 โทสะ 1 โมหะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม
3 ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการแล้ว ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้
3 ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ 1 วิจิกิจฉา 1 สีลัพพตปรามาส 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละราคะ
โทสะ โมหะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการแล้ว
ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ 3 ประการเป็นไฉน
คือ การกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย 1 การเสพทางผิด 1 ความ
หดหู่แห่งจิต 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการนี้แล
ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการแล้ว ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบาย
ไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ 3 ประการเป็นไฉน
คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม 1 ความไม่มีสัมปชัญญะ 3 ความฟุ้งซ่าน
แห่งจิต 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการนี้แล้ว
ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความ
หดหู่แห่งจิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการแล้ว
ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่าน
แห่งจิตได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ 1
ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ 1 ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี 1

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละ
ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความ
เป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ
ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ ความฟุ้งซ่าน 1
ความไม่สำรวม 1 ความทุศีล 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม
3 ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้
ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา 1 ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ 1 ความเกียจคร้าน 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความ
ฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่
ละธรรม 3 ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็น
ผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ ความ
ไม่เอื้อเฟื้อ 1 ความเป็นผู้ว่ายาก 1 ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ
ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ 3 ประการเป็นไฉน คือความ
ไม่มีหิริ 1 ความไม่มีโอตตัปปะ 1 ความประมาท 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม 3 ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความ

เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มี
ความละอาย ไม่มีความเกรงกลัว เป็นผู้ประมาท ก็ไม่อาจละความเป็นผู้
ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ บุคคลเป็นผู้มี
มิตรชั่ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์
ความเกียจคร้านได้ บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน
ความสำรวม ความทุศีลได้ บุคคลเป็นผู้ทุศีล ก็ไม่อาจละความเป็นผู้
ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความ
เป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ก็ไม่อาจละความเป็น
ผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ บุคคลเป็น
ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ก็ไม่อาจละความกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การ
เสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตหดหู่ ก็ไม่อาจละ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ บุคคลเป็นผู้มีวิจิกิจฉา ก็ไม่
อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ บุคคลไม่ละราคะ โทสะ โมหะแล้ว ก็ไม่
อาจละชาติ ชรา มรณะได้.
ดูภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการแล้ว จึงอาจละชาติ
ชรา มรณะได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ ราคะ 1 โทสะ 1 โมหะ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการนี้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา
มรณะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการแล้ว จึงอาจละ
ราคะ โทสะ โมหะได้ ธรรม 3 ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ 1 วิจิ-
กิจฉา 1 สีลัพพตปรามาส 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการ
นี้แล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ โมหะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละ
ธรรม 3 ประการแล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

ได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ การกระทำไว้ใจโดยอุบายไม่แยบคาย 1
การเสพทางผิด 1 ความหดหู่แห่งจิต 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละ
ธรรม 3 ประการนี้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการแล้ว จึงอาจละการ
กระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิต
ได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม 1 ความไม่มีสัมป-
ชัญญะ 1 ความฟุ้งซ่านแห่งจิต 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม
3 ประการนี้แล้ว จึงอาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การ
เสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม
3 ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ
ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็น
พระอริยะ 1 ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ 1 ความเป็นผู้มี
จิตคิดแข่งดี 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ละธรรม 3 ประการนี้แล้ว
จึงอาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่าน
แห่งจิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการแล้ว จึงอาจละ
ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ
ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ ความฟุ้งซ่าน 1
ความไม่สำรวม 1 ความเป็นผู้ทุศีล 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ละ
ธรรม 3 ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความ
เป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการแล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ ความเป็น

ผู้ไม่มีศรัทธา 1 ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ 1 ความเกียจคร้าน 1 ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการนี้แล้ว จึงอาจละความฟุ้ง
ซ่าน ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ละธรรม 3 ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้
ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ ความ
เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ 1 ความเป็นผู้ว่ายาก 1 ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลย บุคคลละธรรม 3 ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่
มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ
ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ 3 ประการเป็นไฉน คือ
ความเป็นผู้ไม่มีความละอาย 1 ความเป็นผู้ไม่มีความเกรงกลัว 1 ความ
ประมาท 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการนี้แล้ว จึงอาจ
ละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป้ผู้มีมิตรชั่วได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความละอาย มีความเกรงกลัว ไม่ประมาทอยู่ ก็อาจ
ละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ บุคคล
เป็นผู้มีมิตรดี ก็อาจจะละความเป็นผู้มีมีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประ-
สงค์ความเกียจคร้านได้ บุคลเป็นผู้ปรารภความเพียร ก็อาจละความเป็นผู้
ฟุ้งซ่านความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ บุคคลเป็นผู้มีศีล ก็อาจละความ
เป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความ
เป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่คิดแข่งดี ก็อาจละความเป็นผู้
มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้
มีจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ก็อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย

การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่หดหู่ ก็อาจละ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ บุคคลเป็นผู้ไม่มีวิจิกิจฉา
ก็อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ บุคคลละราคะ โทสะ โมหะแล้ว ก็อาจ
ละชาติ ชรา มรณะได้.
จบอภัพพสูตรที่ 6

อรรถกถาอภัพพสูตรที่ 6


อภัพพสูตรที่ 6

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาอภัพพสูตรที่ 6

7. กากสูตร


ว่าด้วยอสัทธรรม 10 ประการ


[77] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาประกอบด้วยอสัทธรรม 10
ประการ 10 ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มักขจัด 1 คะนอง 1 ทะเยอ
ทะยาน 1 กินจุ 1 หยาบช้า 1 ไม่มีกรุณา 1 ไม่แข็งแรง มักร้อง 1
เผลอสติ 1 สั่งสม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาประกอบด้วยอสัทธรรม 10
ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกก็ประกอบด้วยอสัทธรรม
10 ประการ ฉันนั้นเหมือนกันแล 10 ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ขจัด 1
คึกคะนอง 1 ทะเยอทะยาน 1 กินจุ 1 หยาบช้า 1 ไม่มีกรุณา 1 ไม่
แข็งแรง 1 มักร้อง 1 เผลอสติ 1 สั่งสม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ลามกประกอบด้วยอสัทธรรม 10 ประการนี้แล.
จบกากสูตรที่ 7